การค้นหาข้อมูลต่างๆใน Google เป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เมื่อเรา search ข้อมูลต่างๆที่ต้องการค้นหานั้น SERP จะแสดงผลจากการค้นหาเป็นเว็บที่เกี่ยวข้อง เปรียบเสมือนแคตาล็อกสินค้า โดยทุกเว็บต่างก็ต้องการอยู่ในหน้าแรกทั้งนั้น เพราะคนทั่วไปไม่นิยมหาในหน้าหลังๆ นี่ก็คือเป้าหมายที่สำคัญในการทำ SEO เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจกับรายอื่น
SERP คือ
SERP ย่อมาจากคำว่า Search Engine Results Page หมายถึง หน้าจอรวมผลการสืบค้น เป็นการแสดงอันดับของ Search Engine ใน Google กล่าวคือ เมื่อเราเข้าเว็บ Google แล้วพิมพ์คำ ข้อความ หรือ Keyword ในช่อง Search ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็จะแสดงผลตามอันดับ SEO ที่ระบบอัลกอริธึมของ Google ประมวลไว้ ทั้งหมดนี้ก็คือ Google SERP นั่นเอง
Google SERP เป็นผลการจัดอันดับที่แสดงลิสต์ของเว็บเพจ บนหน้าเว็บ Google จากการค้นหาจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- Organic SERP Listings– ผลลัพธ์ที่แสดงจากการจัดอันดับตามธรรมชาติ
- Paid SERP Listing – ผลลัพธ์ที่แสดงจากการลงโฆษณากับ Google หรือจะเรียกว่า Sponsored Links
SERP ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- ช่อง Search เพื่อใส่คำ ข้อความ keyword ที่ต้องการค้นหา
- Title หรือหัวข้อของเพจว่าต้องการจะสื่ออะไร ต้องเขียนให้น่าสนใจมากที่สุด เพราะมีผลต่อการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์เป็นอย่างมาก ในหน้า Google จะแสดงผลเป็นตัวอักษรสีน้ำเงินตัวหนาที่เป็นจุดสะดุดตามากที่สุดของแต่ละเว็บไซต์
- Snippet หรือตัวอย่างข้อความที่อธิบายรายละเอียดของเว็บไซต์ บางเว็บก็อาจไม่มีขึ้นอยู่กับเจ้าของกำหนดเอง
- URL หรือลิงค์ที่อยู่ของเว็บไซต์ เพื่อเป็นตัวระบุว่าจะเข้าไปหน้าไหนหรือเพจไหนต่อ
- Cache เว็บไซต์สำรองของ Google เก็บเอาไว้ เผื่อตัวเว็บมีปัญหาหรือError! Hyperlink reference not valid.ยกเลิกการทำแล้ว
- ผลลัพธ์การแสดงจำนวนเว็บไซต์ทั้งหมดในการค้นหา จะทำใหทราบอันดับเว็บในหน้า Google ทำให้รู้ว่ามีคู่แข่งเท่าไรเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลในการทำ SEO ได้
- SEM หรือ Search Engine Marketing คือเพจที่ได้อันดับมาจากการเช่าพื้นที่โฆษณา โดยจ่ายเงินค่าโฆษณาให้กับ Google ตามเงื่อนไข เพื่อให้ติด 1-3 อันดับแรก หากสังเกตจะมีคำว่า “โฆษณา Ads หรือ sponsored” อยู่ที่ด้านหน้า URL address
ต่อไปจะเป็นตัวอย่างกรณีที่เราต้องการค้นหา “ร้านขายดอกไม้” ใน Google เพื่อสั่งดอกไม้ให้กับคนสำคัญในเทศกาลต่างๆนั้น เมื่อ Search แล้ว SERP จะดึงข้อมูลร้านค้าต่างๆขึ้นมาแสดงผล ซึ่งหากเราสังเกตดีๆ ก็จะเห็นองค์ประกอบต่างๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น บางร้านก็อาจจะเป็นการติดอันดับต้นๆจากกการจ่ายเช่าพื้นที่โฆษณาใน Google ดังรูป
วิเคราะห์ SERP เพื่อทำ SEO
การที่เราทำ SEO ก็เพื่อทำให้เว็บของเราติดอันดับดีๆบน SERP ดังนั้นการวิเคราะห์ SERP จึงเป็นสิ่งสำคัญมักนิยมดูผลของอันดับลิงค์ที่แสดงบนหน้าแรกของ Google อันดับที่ 1-10 แรกโดยดูแบบเจาะลึกใน keyword ที่ใช้ค้นหาเพื่อหาถึงสาเหตุ สัญญาณ และปัจจัยต่างๆที่ทำให้ลิงค์เหล่านั้นติดอับดับ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่นิยมดูกัน เช่น Domain Authority (DA), Page Authority (PA), Body Keyword, Links, Page Rank เป็นต้น และยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการดูมากมายทั้งแบบเสียเงินและแบบฟรี
เครื่องมือที่ใช้ในการเช็ค SERP แบบ(ฟรี)แนะนำ 2 ตัวดังนี้
- SEOquake– ไว้สำหรับดู PR , Title, Meta Description, Keyword, Heading, Text Ratio
- MozBar – ไว้สำหรับดู Page และ Domain Authority และ Links
SERP ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่ง
ผู้ทำเว็บทุกคนก็อยากจะติดอันดับต้นๆใน SERP กันทั้งนั้น ดังนั้นการวิเคราะห์ SERP 10 อันดับแรก ก็เพื่อวิเคราะห์คู่แข่ง และนำมาประเมินกับเว็บตัวเอง ว่ามีอะไรต้องปรับปรุง ควรวิเคราะห์แบบเจาะลึก เก็บรายละเอียด ดูถึงไอเดีย แนวคิด เพื่อนำมาปรับใช้ต่อไป หลักๆที่ควรเลือกดูมีดังนี้
- การตั้งชื่อหัวข้อ Title
- การเขียนคำอธิบายเนื้อหาอย่างย่อ Meta Description
- การวางคำที่ใช้ในการค้นหา Keyword ในตำแหน่งต่างๆ
- เนื้อหาในบทความ
- ขนาดความยาวของเนื้อหาใบทความ
- การจัดวางโครงสร้างของบทความ
- โครงสร้างของทั้งเว็บไซต์
- การวาง Links เข้า Links ออก
- องค์ประกอบอื่นๆ เช่น รูปภาพ คลิป Social
สรุป
Google SERP เป็นการแสดงอันดับการค้นหาในหน้า Google ซึ่งมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการทำ SEO อย่างมาก หากสามารถทำเว็บให้ติดอันกับต้นๆในการค้นหาได้ และใช้ในการเปรียบเทียบกับคู่แข่งว่า keyword ที่เราทำนั้น เขาพัฒนากันไปถึงไหนแล้ว เราควรปรับปรุงยังไง หรือสิ่งที่เรากำลังทำล้ำหน้าและดีกว่าเจ้าอื่นอย่างไร จะทำให้ธุรกิจของเรามีโอกาสที่ดีมากกว่าคู่แข่งรายอื่น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะขายของได้มากขึ้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- https://www.webbastard.net/google-serps/
- http://edayseo.com/serp-search-engine/
- https://janinegillot.com/serp-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/