เริ่มทำ SEO

สารบัญเนื้อหา

เราจะมาดูวิธีการเริ่มต้นทำ SEO แบบตั้งแต่แรก จนไปถึงขั้นที่ว่าทำให้หน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการขึ้นติดหน้าแรกบน Google เลย โดยจะมี 5 ขั้นตอนด้วยกัน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 : หา Keyword

อย่างแรกที่เราต้องทำก่อนที่จะเริ่มทำสิ่งอื่นเลยคือ หา Keyword ที่เราต้องการติดอันดับบน Google ให้ได้ก่อน ซึ่งการเขียนบทความหรือการทำเว็บไซต์ก่อน แล้วค่อยหา Keyword มันจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ การที่เรารู้ Keyword ที่เราต้องการก่อน จะทำให้เวลาเราเขียนบทความหรือปรับแต่งเว็บไซต์ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างสอดคล้องกันหมด 

เหมือนกับเวลาเราขับรถออกเดินทาง เราก็ต้องมีจุดหมายที่จะไปให้ถึง ไม่งั้นการขับรถของเราจะไร้จุดหมายทันที ดังนั้นการทำ SEO ก็เช่นเดียวกัน เราต้องมี Keyword ที่เราต้องการใช้ติดหน้าแรกบน Google ก่อนที่จะลงมือทำ

 

Google Keyword Planner

เครื่องมือในการหา Keyword ที่ดีที่สุดเลยคือ Google Keyword Planner เป็นเครื่องมือไว้ค้นหา Keyword จาก Google โดยตรง 

Google Keyword Planner

เราแค่ใส่ Keyword ที่เราต้องการติดหน้าแรกลงไป

ทาง Google เค้าแนะนำว่า … พยายามอย่าระบุแคบหรือกว้างเกินไป เช่น ควรใช้ “การส่งอาหาร” แทนที่จะใช้แค่ “อาหาร” หากคุณทำธุรกิจส่งอาหาร

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการค้นหาคีย์เวิร์ดใหม่ (คำแนะนำจาก Google โดยตรง)

พอเราใส่ Keyword ที่ต้องการแล้วให้กดคำว่า “ดูผลลัพธ์” 

ทาง Google ก็จะมีรายชื่อ Keyword ที่เกี่ยวกับกับ Keyword ที่เราต้องการ ไว้เป็นไอเดียในการวางแผนคีย์เวิร์ดของเรา

จากนั้นให้เรา ให้เราดูในคอลัมน์ “การค้นหารายเดือนโดยเฉลี่ย” และคอลัมน์ “การแข่งขัน” 

  • การค้นหารายเดือนโดยเฉลี่ย” คือ ปริมาณการค้นหาของ Keyword คำนั้นต่อเดือน ทาง Google ให้ช่วงปริมาณการค้นหาออกมาให้ดู เช่น 10K – 100K หรือประมาณ 1 หมื่น ถึง 1 แสนการค้นหาต่อ 1 เดือน
  •  “การแข่งขัน” คือ ความยากง่ายในการแข่งอันดับบน Google ของ Keyword โดยหลักจะวัดจากปริมาณคู่แข่งและความสามารถของคู่แข่งที่กำลังสู้ Keyword นี้กันอยู่

แนะนำว่าพยายามเลือก Keyword ที่เกี่ยวข้องกับที่เราต้องการ โดยระดับการแข่งขัน อยู่ในระดับ ต่ำ – ปานกลาง เพื่อให้ง่ายต่อการติดอันดับ

สำหรับเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่

สามารถสู้ Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาสูงได้ (100 – 1K หรือ 10K – 100K เลยก็ได้ ถ้าคิดว่าศักยภาพเราพร้อม)

สำหรับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก หรือ พึ่งเริ่มสร้าง

แนะนำให้สู้ Keyword ที่ปริมาณการค้นหาต่ำไปก่อน ที่ราว 10-100 การค้นหาต่อเดือน ซึ่ง Keyword พวกนี้สู้ง่ายกว่าเยอะ เราจะติดอันดับบน Google ง่าย … พอเว็บไซต์เราเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ค่อยพัฒนาไปสู้ Keyword ที่ยากขึ้น

Keyword ง่าย = ปริมาณการค้นหารายโดยเฉลี่ยต่ำ และ การแข่งขันต่ำ
Keyword ยาก = ปริมาณการค้นหารายโดยเฉลี่ยสูง และ การแข่งขันสูง

 

หา Keyword จากคู่แข่ง

ทุกอุตสาหกรรมมีคู่แข่งเราอยู่เสมอ ไม่มากก็น้อย วิธีการที่ต่อสู้ตรงจุดที่สุดเลยคือ นำ Keyword จากคู่แข่งที่เรากำลังดำเนินธุรกิจ มาเป็นใช้เป็น Keyword ในการต่อสู้

วิธีหาให้เข้าไปที่เว็บไซต์ https://neilpatel.com/

neilpatel

จากนั้นเลือก Thai/Thailand แล้วกดตรงช่อง Search 

ให้ดูในส่วนของ Traffic Analyzer ให้คลิ๊กตรงคำว่า Keywords

Keyword คู่แข่ง

จากตัวอย่าง สมมติผมทำธุรกิจ ขายเฟอร์นิเจอร์ แล้วคู่แข่งของผมคือ SB Design Square 

เราก็จะเห็น Keyword ต่างของคู่แข่งเราที่ติดอันดับบน Google 

การใช้งาน  Neilpatel เพิ่มเติม : 

การใช้งาน neilpatel

Vol. = ปริมาณการค้นต่อเดือน
Position = อันดับบน Google ของ Keyword นั้น
EST. Visits = ปริมาณการคลิ๊กเข้าไปดูเว็บไซต์จากการค้นหาบน Google
SD = ความยากง่ายของ Keyword

แต่ถึงอย่างไรก็ดีไม่ว่า Keyword นั้นจะยากหรือง่าย … สิ่งสำคัญที่สุด คือ Keyword ที่เราเลือกต้องเกี่ยวข้องกับตัวเนื้อหาบทความที่เราต้องการจะนำเสนอ อย่าเอา Keyword ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเราเด็ดขาด

ขั้นตอนที่ 2 : สร้างเนื้อหาให้โดนใจ

เมื่อเราได้ Keyword ที่ต้องการมาแล้ว จากนั้นเราก็มาสร้างเนื้อหาลงบทเว็บไซต์ของเรา โดยเนื้อหานั้นต้องเกี่ยวกับกับ Keyword ของเราโดยตรง

ส่วนเรื่องการสร้างเนื้อหาให้น่าสนใจ และทำให้ Google ชอบนั้นมีวิธีดังต่อไปนี้

เนื้อหายิ่งยาวยิ่งดี

มีหลายแหล่งข้อมูลที่บ่งชี้ไปในทางเดียวกันว่า ยิ่งจำนวนคำบนเนื้อหา (Number of words on a page) ของเราเยอะเท่าไหร่ โอกาสการขึ้นอันดับต้นๆบน Google จะมีสูงขึ้น

ความยาวเนื้อหา SEO

ลองดูกราฟนี้ครับ (ของ https://backlinko.com)

แกนตั้ง : เป็นจำนวนคำต่อ 1 หน้า
แกนนอน : อันดับบน Google (1-10)

จะสังเกตได้ว่า อันดับต้นอย่าง 1-3 มีปริมาณคำเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1950-2000 คำ … ส่วนอันดับท้ายๆอย่าง 8-10 มีปริมาณคำเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1750-1800 คำ 

(อันนี้เป็นเว็บ SEO จำนวนคำโดยเฉลี่ยในอุตสาหกรรมของเค้าจะเยอะกว่าเพื่อนเป็นปกติอยู่แล้ว)

ซึ่งจะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่ยาวกว่า มีโอกาสที่จะ Google จะชอบมากกว่า

ขั้นต่ำจำนวนคำที่แนะนำคือ 500 คำ เป็นอย่างน้อย (ถ้าจำนวนคำในเนื้อหาน้อย ให้สู้เรื่องอื่นแทน เช่น รูปภาพ หรือ ลูกเล่นต่างๆ)

แต่ก็ไม่ได้บอกให้เขียนเนื้อหาแบบยาวเป็นหนอน เหมือนอ่านตำราเรียนนะครับ อย่างงี้ Google ก็ไม่ชอบเหมือนกัน 

on page structure

เวลาเขียน Content เราก็ควรจัดวางรูปแบบให้ดูน่าสนใจ มีรูปแทรกประกอบ เว้นช่องไฟให้ดูสบายตา เรียงลำดับเนื้อหาให้อ่านง่าย ซึ่งยิ่งถ้าเนื้อหาเราดูอยู่แล้ว มาบวกกับการจัดเรียงเนื้อหาให้ดูอ่านง่ายอีก ก็จะทำให้เวลาคนเข้ามาอ่านเนื้อหาของเราจะอยู่บนเว็บไซต์เรานานขึ้น ยิ่งคนอยู่นาน Google ยิ่งชอบโดยปริยาย

ทำรูปให้ดึงดูดคน

เดี๋ยวนี้การนำเสนอผ่านพวก Visual content หรือ Infographic จะยิ่งดึงดูดให้คนสนใจมากยิ่ง

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง visual content

มันดูน่าสนใจกว่าการอ่านตัวหนังสือธรรมดาเช่นไหมละครับ และพวก Visual content นี้ มันมีแนวโน้มทำให้คนบน Social แชร์เนื้อหาเรามากว่าอีกด้วย

ไอเดียในการทำ Visual content (จาก digitalmarketingwow.com คลิ๊ก)

ขั้นตอนที่ 3 : ปรับ On-Page

เป็นการทำให้ Google ชอบเนื้อหาบนเว็บไซต์เรา โดยจะต้องปรับแต่งส่วนต่างๆ ให้ตรงตามหลักของ Google ซึ่งมีปัจจัยหลักๆดังนี้

การตั้งชื่อ URLs 

urls คือ

URLs เปรียบเสมือนชื่อที่อยู่ของบ้าน บนโลกอินเตอร์เน็ต เราก็ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรา เพื่อที่จะให้คนเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น

อย่างบทความ “สิ่งที่คนทำ SEO ต้องรู้” ผมก็ใช้ URLs ว่า SEO-MUST-KNOW อย่างงี้เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เขียน

ส่วนเรื่องความยาวของ URLs ไม่ควรยาวเกินไป ควรสั้นๆ กระชับ ได้ใจความ 

ความยาว URL

และยิ่งถ้าชื่อ URLs ตรงกับ Keyword ได้จะดีมาก

URLs สั้นๆ ไม่ยาวเกินไป และสอดคล้องกับ Keyword

Tip การตั้งชื่อ URLs 

  • ควรใช้เป็นภาษาอังกฤษ (เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาษาต่างดาว เวลาไปแชร์ที่อื่น)
  • ถ้าอยากใช้ภาษาไทยก็ควรกระชับได้ใจความ
  • ถ้า URLs เป็นคำเดียวกับ กับ Keyword ได้ยิ่งดีมาก

 

การตั้งชื่อหัวข้อ

Title หรือชื่อหัวข้อของเนื้อหา สำคัญมากต่อ SEO เพราะ Google จะดูว่าเนื้อหาเราเกี่ยวกับอะไรจาก หัวข้อ เป็นด่านแรก

ในชื่อ Title เราก็ต้องมีชื่อ Keyword ของเราประกอบอยู่ด้วย

ชื่อหัวข้อ

ใช้ชื่อ Keyword ในย่อหน้าแรก

ใส่ Keyword ในย่อหน้าแรก

ในย่อหน้าแรก (หรือ 150 คำ) ควรมี Keyword ของเราปรากฏอยู่ในส่วนนี้ด้วย เพื่อให้ Google เห็นว่า Keyword นี้ค่อนข้างมีความสำคัญ 

 

Internal Link

การทำ Link ไปมาบนเว็บไซต์ จะทำให้เว็บไซต์เราดูดีในสายตาของ Google 

  • ทั้ง Link จากบทความใหม่ ไปยังบทความเก่าๆ 
  • หรือ Link จากบทความเก่าๆ มายังบทความใหม่

internal link

อันนี้เป็นตัวอย่างจากเว็บไซต์ https://stepstraining.co ชื่อบทความว่า 6 ขั้นตอนการตลาดออนไลน์ การเปลี่ยนจากคนแปลกหน้าไปเป็นลูกค้าตลอดกาล

ลิงค์ไปหน้าอื่นของเว็บไซต์ตัวเอง

ในทุกขั้นตอนเค้าได้แทรกลิงค์ไปยังบทความต่างๆ บนเว็บไซต์ตัวเอง ซึ่งอย่างงี้ดีมากครับ มันทำให้คนอ่านที่อยากศึกษาเพิ่มเติมได้คลิกต่อ แล้วก็ทำให้ Google ชอบเว็บเรามากขึ้นอีกด้วย

อ่านเพิ่ม ความสำคัญของ Link : Link quity โดย Moz.com (คลิ๊ก)

ขั้นตอนที่ 4 : สร้าง Backlinks

Backlink หรือ ลิงค์ที่มาจากเว็บไซต์คนอื่น 

เป็นขั้นตอนที่ถือว่ายากที่สุดแล้ว แต่หากทำได้ ทาง Google จะให้คะแนนในส่วนนี้กับเราค่อนข้างเยอะ

ที่บอกว่ายาก คือ เพราะเราต้องให้เว็บไซต์อื่นลิงค์มายังเว็บไซต์เรา ซึ่งถ้าเรานั่งอยู่เชยๆ มันยากมากที่อยู่ดีๆ คนอื่นจะใจดีลิงค์มายังเว็บไซต์เรา

ดังนั้นจึงอาจจะได้ต้องวิธีการเพิ่มเติมในการได้ Backlink มา อาทิเช่น

  • Direct message ไปหาเจ้าของ Website ที่อยากให้เค้าลิงค์มายังเว็บไซต์เรา ยืนข้อเสนอการทำ Backlinks ให้กันและกัน 
  • ไปโพสลิงค์ Website เราในพวกเว็บบอร์ดหรือใต้เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง … 
    • ! วิธีนี้อย่าโพสมั่วนะครับ ! 
    • เช่น บทความเราเกี่ยวกับ ออกกำลังกาย ก็ควรไปโพสเว็บไซต์คนอื่นที่เกี่ยวกับ ออกกำลังกาย ด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่ไปโพสเว็บ เกมส์ อะไรงี้ 
    • หรืออย่างบนเว็บบอร์ด ก็ควรโพสใต้กระทู้ที่สอดคล้องกัน ทำให้มันดูเป็นธรรมชาติ อย่าทำเหมือน Robot 

ระวัง : Backlinks ที่ทำควรมีคุณภาพ ไม่ใช่ไปให้พวก SEO สายดำเค้าทำ อันนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เผลอๆ Google อาจมองเป็นพวก Spam ด้วยซ้ำ

ขั้นตอนที่ 5 : ติดตามผล

เราสามารถติดตามผลของเว็บไซต์ของเราได้จาก Google Analytics และ Google Search Console

ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะคอยติดตามผลงานของเรา เราสามารถดูว่ามีคนเข้าเว็บเราเท่าไหร่ เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด มีพฤติกรรมในการเข้าเว็บอย่างไรบ้าง เป็นต้น

Google Analytics และ Google Search Console

มันมีข้อแตกต่างนิดหน่อยระหว่าง Google Analytics และ Google Search Console

Google Analytics : ไว้ดูว่าใครที่เข้ามาดูเว็บไซต์เราบ้าง, มาจากแหล่งไหน, มาจากประเทศอะไร, เข้ามาแล้วดูเนื้อหาในส่วนไหน เป็นต้น
Google Search Console : ไว้ช่วยเชคการทำ SEO ของเรา, เชคอันดับบน Google และพวกโครงสร้างที่เหมาะสมของตัวเว็บที่มีผลต่อ SEO

ซึ่งถ้าใครทำ SEO ก็ต้องบอกเลยว่าจำเป็นต้องมี 2 ตัวนี้อยู่ในเว็บไซต์ของเรา

 

สรุปสุดท้ายในการเริ่มทำ SEO

รับประกันได้เลยว่า ถ้าหากได้ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมด จะทำให้เว็บไซต์ของท่านติดหน้าแรกบน Google อย่างแน่นอน 

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง